ศิลปกรรมฯ DPU ร่วมสร้างปรากฎการณ์บนเวทีแฟชั่นโชว์ “Dune : Part 2” สะท้อนพลังความคิดสรรค์

ศิลปกรรมฯ DPU ร่วมสร้างปรากฎการณ์บนเวทีแฟชั่นโชว์ “Dune : Part 2” สะท้อนพลังความคิดสรรค์

 

 

ดึงดูดทุกสายตาผลงานของเหล่านักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ที่ร่วมสร้างปรากฎการณ์สุดอลังการบนเวทีแฟชั่นโชว์ “Dune : Part Two” ผ่านผลงานการออกแบบชุดสุดล้ำ สื่อความคิดและทักษะล้ำเลิศการทำงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นสมัยใหม่ที่ใช้ได้จริง ณ Quartier CineArt เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) และ Warner Bros. Pictures Thailand ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่แสดงออกให้กับนักศึกษา สาขาวิชาเอกและธุรกิจแฟชั่น หลักสูตรการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้นปี 3 และปี 4 ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพการออกแบบชุด พร้อมกับการสร้างเสริมประสบการณ์สร้างสรรค์แฟชั่นโชว์ เพื่อผลักดันทำให้ภาคอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยก้าวสู่ความเป็นสากลยิ่งขึ้น

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลวรรณ พัชรพรพิพัฒน์ สารสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกและธุรกิจแฟชั่น หลักสูตรการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า งานในครั้งนี้เป็นการสืบเนื่องจากความร่วมมือจากกิจกรรม “Wonka Dark Chocolate Power Workshop” ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมาหลังภาคการท่องเที่ยวประเทศไทยฟื้นตัว โดยในปี 2567 ภาพยนตร์เรื่อง Dune : Part Two เป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และมีความโดดเด่นในแง่ศาสตร์และศิลป์ของชุดชุดคอสตูม จึงเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการออกแบบ การตัดเย็บ และการนำเสนอผลงานในความเป็นเอกลักษณ์อันประณีตที่มีเฉพาะประเทศไทย ซึ่งในงานครั้งนี้มีโจทย์ว่า ถ้าDune เกิดขึ้นในไทย เครื่องแต่งกายจะเป็นอย่างไร?

 

 

“ในภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีตัวละครที่แตกต่างกัน โดยแต่ละเผ่าก็จะมีชุดเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม การทำชุดคอสตูมดีไซน์ต่างๆ ก็จะได้แสดงความเป็น Soft Power ในความเป็นไทยของเราในด้านการทำงานคราฟท์ งานประกิดประดอย หรือการเย็บปักถักร้อย ที่นักศึกษาจะต้องตีความตามโจทย์โดยผสมความเป็นไทยในสไตล์ตัวเอง คิดวิเคราะห์โจทย์ที่ว่าหากเรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ซึ่งก่อนที่จะได้การออกแบบนักศึกษาก็จะต้องมีการรีเสิร์ชข้อมูลก่อนว่าแต่ละตัวละครนั้น มีความเป็นมามีเรื่องราวอย่างไร

 

“ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางการออกแบบแฟชั่น ไม่ว่าจะการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ การร่างภาพ การสร้างมู้ดบอร์ด การตัดเย็บ การพรีเซนเทชั่น รวมไปถึงการคัดเลือกนายแบบ-นางแบบ การแต่งหน้าทำผมด้วยตัวเองที่สะท้อนสื่อถึงตัวละครในเรื่อง ที่สำคัญคือการทำงานเป็นทีม การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนไอเดียพร้อมกับร่วมมือกันระดมสมองเพื่อให้ผลงานนั้นออกมาดีที่สุด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของการทำงานของทางคณะฯในการสอนให้ผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการแฟชั่น ว่าควรทำหรือร่วมผลิตทุกในขั้นตอนด้วยตนเอง ตามแนวคิดของหลักสูตรที่ว่า “คิดได้ ทำได้ ขายได้” สำหรับอนาคตเมื่อนักศึกษาเรียนจบ”

 

 

อาจารย์กมลวรรณ กล่าวเสริมอีกว่า งานแฟชั่นโชว์ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และได้รับเสียงตอบรับผู้ชมเป็นอย่างดี นักศึกษาทุกคนตั้งใจจัดทำกันอย่างเต็มที่ในงานโชว์ครั้งนี้เพื่อสะท้อนศักยภาพของคนไทย ตั้งแต่กิจกรรม Workshop ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากทางจากทาง Warner Bros.Thailand ในค่า
ใช้จ่ายต่างๆ ในกระบวนการรังสรรค์ชุด จนกระทั่งออกมาเป็นผลงานสุดอลังการ ที่สามารถใช้งานได้จริงทั้งหมด 5 ชุด ได้แก่

1. กลุ่ม DuDune มีสมาชิก ได้แก่ สุุนิษา แผนสมบูรณ์ สุธาศิณี ชื่นอยู่ โสรรัตน์ กรรณโอภาส พิมพ์ชนก มีศรีผ่อง และมีที่ปรึกษา รุ่นพี่ศิษย์เก่า ชญานี ทิพย์กุมาร ที่ร่วมออกแบบเครื่องแต่งกายด้วย โดยชุดที่ออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากคาแรคเตอร์ตัวละคร Pual Atreides ในการออกแบบชุดให้ดูมีความเป็นนักรบทะเลทรายผสมผสานกับสตรีทอาร์ตแบบไทยๆ

2. กลุ่ม The Power of Faith มีสมาชิก ได้แก่ พีระพงษ์ เชิญชม อารีฟะฮ์ อันนัศร์ ศรันย์ อัคคะฮาด และมีที่ปรึกษา รุ่นพี่ศิษย์เก่า ได้แก่ ชนิสรา สิงห์หะ และมนัชญา เนตรวงษ์ ที่ร่วมออกแบบเครื่องแต่งกายและสไตลิ่งด้วย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากLady Jessica ที่เต็มไปด้วยพลังความเชื่อ ความศรัทธาในตัวตน ผสมผสานกับอักขระตัวอักษรขอมไทย ที่ใช้ในพิธีมงคลมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นความเชื่อที่สมาชิกในกลุ่มต่างให้ความสนใจศึกษามาโดยเฉพาะ

3. กลุ่มสี่สาวฉกรรจ์ มีสมาชิก ได้แก่ เพชรรัตน์ คงประหัด นภา แซ่กือ ปารีรัตน์ สินไชย ณัฐธิดา หลักแหลม ที่แสดงถึงตัวละครนักรบในเผ่าเฟรเมน ที่เน้นความเป็นไทยผ่านการปักผ้าดอกไม้ไทยบนผ้าลายไทย และมีโครงร่างงานที่เหมาะสมกับสภาพอากาศประเทศไทยที่ร้อนดั่งทะเลทราย

4. กลุ่ม Dead is not me มีสมาชิก ได้แก่ อัญญาดา วีลาวัลย์ ณัฐธิดา หลักแหลม พรณิภา ภูเเล่นนา และธมนวรรณ โสภาพล ที่แสดงถึงตัวละครนักรบสตรีในเผ่าเฟรเมน สวมใส่ชุดทะมัดทะแมง เล่นรอบตัวด้วยผ้าไทย ประกอบชุดด้วยธนูพิชัย อาวุธไทยโบราณ

5.กลุ่ม Cosmic Warriors in the Future World มีสมาชิก ได้แก่ ฐิติมา จารย์สูงเนินต้นสกุล เรกระโทก พีรพัฒน์ ช่างทำ และมีที่ปรึกษา รุ่นพี่ศิษย์เก่า ได้แก่ กฤษฎา จันทคัด ที่ร่วมออกแบบเครื่องแต่งกายและสไตลิ่งด้วย ชุดนี้ได้แรงบันดาลใจจากการแต่งกายและโทนสีประกอบเมืองในดาวอาร์ราคิส (Arrakis) ผสมความเป็นไทยด้วยการใส่หน้ากากยักษ์ แสดงให้เห็นถึงความร้ายกาจของตัวร้ายในเรื่องนี้

“นักศึกษาเต็มกันเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่นกลุ่มที่ทำในเรื่องของงานปักเย็บ ก็ตั้งใจนั่งทำกันเป็นสัปดาห์เพื่อจะได้โชว์ให้ทันในวันงาน ซึ่งทางโปรดิวเซอร์ก็ชื่นชมในความสามารถของนักศึกษาว่าแค่บอกโจทย์ก็สามารถที่จะตีความแล้วสื่อสารสิ่งที่คิดออกมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดประสบการณ์ให้กับนักศึกษา และเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาคธุรกิจและภาคบันเทิง ตอกย้ำถึงวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ ในการสร้างมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมลุยในโลกธุรกิจ”

#หลักสูตรการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ #คณะศิลปกรรมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ #DPU #SmartNews

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

CIBA -DPU จับมือ บริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ปั้นบัณฑิตนักปฏิบัติ ตอบโจทย์โลกธุรกิจพลังงานสะอาดยุคใหม่

CIBA -DPU จับมือ บริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด […]

You May Like

Subscribe US Now